จัดฟัน ( Orthodontics )

จัดฟันทั้งที แนะนำจัดฟันกับคุณหมอเฉพาะทางดีกว่า
การจัดฟัน (Orthodontics) เป็นทันตกรรมเฉพาะทาง ที่รักษาและแก้ไขการเรียงตัวของฟันที่มีความผิดปกติ และเพื่อความงาม ต้องมีการปรึกษาและวางแผน โดยแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน เพื่อรักษาความผิดปกติของการเรียงตัวของฟัน ไม่ว่าจะเป็น ฟันซ้อน ฟันเก การสบฟัน และปัญหาที่เกี่ยวกับขากรรไกรที่ต้องสัมพันธ์กับใบหน้า อาจจะร่วมกับการผ่าตัด ดังนั้นการจัดฟันจึงเป็นการรักษาเพื่อทำให้มีการสบฟันที่ดีขึ้น ฟันเรียงตัวดีขึ้น การบดเคี้ยวมีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดฟันยังทำให้ยิ้มได้อย่างมั่นใจและเสริมบุคลิกภาพให้ดีขึ้น ฉะนั้น อยากจัดฟันทั้งที แนะนำจัดฟันกับคุณหมอเฉพาะทางจัดฟันดีกว่า รวมถึงคลินิกทันตกรรมเฉพาะทางที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ
|
ฟันแบบไหนควรจัดฟัน ฟันซ้อนเก : ฟันเรียงไม่เป็นระเบียบ ทำให้ทำความสะอาดยาก ฟันกัดคร่อม : ไม่สามารถขบได้พอดีกับฟันล่าง ฟันสบเปิด : เมื่อขบฟันแล้ว มีช่องว่างระหว่างฟันบนกับฟันล่าง ฟันกัดเบี้ยว : จุดศูนย์กลางของฟันบนไม่ตรงกับฟันล่าง ฟันห่าง : มีช่องว่างระหว่างฟันมากเกินไป ฟันบนยื่น - เหยิ่น : มีลักษณะฟันบนที่ยื่นออกมาข้างหน้ามากเกินไป ฟันล่างยื่น - เหยิ่น : มีลักษณะฟันล่างที่ยื่นออกมาข้างหน้ามากเกินไป
|
รูปแบบของการจัดฟัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ
1. การจัดฟันแบบติดเครื่องมือ เป็นการจัดฟันที่นิยมมากที่สุดและ แพร่หลาย
2. การจัดฟันแบบไม่ติดเครื่องมือ เป็นการจัดฟันแบบถอดได้ หรือแบบใส ไม่ต้องติดเครื่องมือจัดฟันบนฟัน
1.การจัดฟันแบบติดเครื่องมือ
1.1 จัดฟันโลหะ / จัดฟันเหล็ก (metal) จัดฟันแบบติดเครื่องมือ เป็นการจัดฟันที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คนทั่วไปและวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเลือกการจัดฟันเหล็ก โดยปัจจุบันการจัดฟันโลหะนี้ ขนาดของวัสดุที่ใช้มีขนาดเล็กลง คุณภาพสูง และให้ความรู้สึกใส่สบาย และผู้รับบริการสามารถเลือกเปลี่ยนสีของสันยาง (O-ring) ตามที่ชอบ ได้ทุกเดือน ข้อดี : เป็นที่นิยม ราคาไม่แพง ทำได้ทุกช่วงอายุวัย ควบคุมการเคลื่อนฟันได้ง่าย เลือกเปลี่ยนสียางตามชอบได้ข้อเสีย : ทำความสะอาดฟันได้ยาก อาจเกิดแผลในช่องปากจากลวด บางครั้งมีเครื่องมือหลุด ต้องพบแพทย์ทุกเดือน เป็นที่นิยม ราคาไม่แพง ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าตัวอื่น ระยะเวลาในการจัดฟัน 2 ปีขึ้นไปเหมาะกับใคร : การจัดฟันแบบโลหะเหมาะกับคนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ที่มีงบจัดฟันจำกัด และผู้ที่มีเวลามาพบทันตแพทย์ได้บ่อย ๆ สม่ำเสมอ
จัดฟันแบบโลหะใช้เวลานานไหม : ระยะเวลาในการจัดฟัน 2 ปีขึ้นไป แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัญหาการเรียงตัวของฟันและความสม่ำเสมอของผู้เข้ารับบริการแต่ละคนในการมาพบแพทย์

1.2 จัดฟันเซรามิก (ceramic braces) เป็นเทคนิคการจัดฟัน ที่ใช้เครื่องมือในการจัดฟันที่ทำมาจากวัสดุเซรามิก จึงให้สีเหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ โดยจะทำงานร่วมกับลวดจัดฟันและยาง Oring ในการดึงฟัน มีขั้นตอนการรักษาคล้ายคลึงกับการจัดแบบโลหะข้อดี : คือเครื่องมือมีความโปร่งแสง และให้สีใกล้เคียงกับเนื้อฟันมากที่สุด ทำให้ดูเป็นความเป็นธรรมชาติ และไม่ต้องการให้สังเกตเห็นเครื่องมือจัดฟันได้ง่ายป็นที่นิยม ราคาไม่แพง ทำได้ทุกช่วงอายุวัย ควบคุมการเคลื่อนฟันได้ง่ายข้อเสีย : ทำความสะอาดฟันได้ยาก อาจเกิดคราบบนวัสดุจัดฟันได้ง่าย ไม่คงทนแข็งแรงเท่าอุปกรณ์จัดฟันแบบโลหะ เป็นเครื่องมือติดแน่น อาจทำให้เกิดความรำคาญ ระคายเคืองจากเครื่องมือ ต่อเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปากเหมาะกับใคร : เหมาะกับคนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา หรือคนที่ต้องการเน้นความสวยงาม ไม่อยากให้เห็นเครื่องมือจัดฟันชัดเจน เน้นความสวยงาม มีความมั่นใจเวลาพูด หรือยิ้ม เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ระคายเคือง หรือแพ้โลหะที่ใช้ในการจัดฟันจัดฟันแบบเซรามิกใช้เวลานานไหม : การจัดฟันแบบเซรามิกจะใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี ในการจัดตำแหน่งฟันที่มีปัญหาใหม่ แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัญหาการเรียงตัวของฟันและความสม่ำเสมอของผู้เข้ารับบริการแต่ละคนในการมาพบแพทย์
1.3 จัดฟันแบบดามอน (Damon) เป็นการจัดฟันด้วย Bracket แบบใหม่ไม่ต้องใช้ยางรัด แต่ให้ผลลัพธ์การเคลื่อนตัวของฟันที่รวดเร็วกว่า ออกแบบมาให้คนไข้รู้สึกสบายมากขึ้น เจ็บน้อยลง ทั้งยังมีให้เลือก 2 แบบ - จัดฟันดามอน คิว (Damon Q) เป็นการใช้เครื่องมือจัดฟัน หรือ แบร็คเก็ต (Brackets) โลหะสีเงิน เมื่อติดเครื่องมือจัดฟันชนิดนี้บนฟัน จะเห็นเครื่องมือจัดฟันชัดเจน
- จัดฟันดามอน เคลียร์ (Damon Clear) เป็นการใช้เครื่องมือจัดฟัน หรือ แบร็คเก็ต (Brackets) ชนิดสีเหมือนเนื้อฟัน หรือสีใส ทำให้เมื่อติดลงบนฟันจะมองเห็นเครื่องมือไม่ชัดเจน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบุคลิกภาพที่ดีหรือไม่ต้องการให้เห็นเครื่องมือมากระหว่างการจัดฟัน
ข้อดี : ไม่ต้องใช้ยาง จึงไม่มีปัญหาเรื่องยางขาด หรือยางเสื่อมสภาพ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีแบบ self-ligating ซึ่งลักษณะจะเป็นบานพับเปิดปิด ลดแรงเสียดทาน ส่งผลให้ฟันเคลื่อนที่เร็ว ช่วยลดระยะเวลาในการจัดฟันให้น้อยลง รวมถึงปรับเครื่องมือยังเจ็บน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการจัดฟันแบบโลหะ
ข้อเสีย : ทำความสะอาดฟันได้ยาก ราคาค่อนข้างสูง พบแพทย์บ่อย
เหมาะกับใคร : การจัดฟันแบบโลหะเหมาะกับคนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ที่พอมีงบจัดฟันพอสมควร เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง มีเวลาพบแพทย์บ่อย
จัดฟันแบบดาม่อนใช้เวลานานไหม : เฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 6 เดือน – 2 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของฟัน และโครงสร้างฟันของแต่ละคน หากคนไข้มีฟันซ้อนหรือฟันเกมากก็อาจจะใช้เวลามากขึ้น
< จัดฟัน...แบบไหน?...เหมาะสำหรับคุณ > สนใจ คลิก ดูเพิ่มเติม
จัดฟันทั้งที...แนะนำจัดฟันกับคุณหมอเฉพาะทางจัดฟันดีกว่านะคะ
2.การจัดฟันแบบไม่ติดเครื่องมือ ( เครื่องมือถอดได้ หรือ จัดฟันใส )
หรือเรียกว่า จัดฟันแบบใส เป็นนวัตกรรมการจัดฟันแบบใหม่ เน้นความสวยงามเป็นหลัก เพราะใช้เครื่องมือโปร่งใสช่วยปรับการเรียงตัวของฟัน ซึ่งมองไม่เห็นเครื่องมือ สามารถถอดออกได้ง่ายต่อการรับประทานอาหาร การทำความสะอาด และการใช้ชีวิตประจำวัน
จัดฟันใสทางศูนย์ฯของเรามีแบรนด์ให้เลือกดังนี้


2.1 จัดฟันใส Invisalign การจัดฟันแบบไม่ติดเครื่องมือ เป็นการดัดฟันโดยใช้ Aligner แบบใส ผลิตโดยภายใต้เทคโนโลยีของบริษัท ที่ชื่อว่า Invisalign (อินวิสไลด์) ซึ่งมองไม่เห็นเครื่องมือ สามารถถอดออกได้ การจัดฟันใสสามารถช่วยแก้ปัญหาการเรียงตัวของฟัน ให้มีความเป็นระเบียบสวยงาม โดยไม่ต้องทำการติดยึดวัสดุใดๆ บนฟัน ง่ายต่อการรับประทานอาหาร การทำความสะอาด และการใช้ชีวิตประจำวัน
Invisalign เป็นเครื่องมือจัดฟันที่สามารถถอดใส่ได้จาก USA มีหลากหลายราคาและจำนวนชิ้น ดังนี้
- Invisalign Express (7คู่) เหมาะกับผู้ที่จัดฟันมาแล้วไม่ใส่รีเทนเนอร์ เป็นการจัดฟันใสสำหรับคนไข้ที่มีฟันซ้อนเกเพียงเล็กน้อย หรือเคยจัดฟันมาแล้วแต่ฟันกลับมาซ้อนเก ซึ่งจะใช้เครื่องมือจัดฟันไม่เกิน 7 คู่ ใช้เวลาในการจัดฟันประมาณ 6 เดือน
- Invisalign Lite (14คู่) เหมาะกับผู้ที่มีฟันหน้าซ้อนเก เคสซับซ้อนปานกลาง เน้นจัดเรียงแต่ฟันหน้า เป็นการจัดฟันใสสำหรับคนไข้ที่มีฟันซ้อนเกไม่มากนัก และใช้เครื่องมือจัดฟันใสตั้งแต่ 8-14 คู่ ใช้เวลาในการจัดฟันประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี
- Invisalign Go (20คู่) เหมาะกับผู้ที่มีฟันซ้อนเกปานกลาง แก้ฟันหน้า ช่วยแก้ไขปัญหาฟันห่าง ฟันซ้อนเก ปัญหาเล็กน้อย (สำหรับผู้ที่ไม่มีปัญหาด้านการบดเคี้ยวหรือการสบฟันในฟันหลังหรือฟันกราม)
- Invisalign Full (ไม่จำกัดจำนวนชิ้น) เหมาะกับผู้ที่มีฟันซ้อนเกมาก และเคสที่ต้องถอนฟันร่วมด้วย เป็นการจัดฟันใสสำหรับคนไข้ที่มีฟันซ้อนเกค่อนข้างมาก และยังไม่เคยจัดฟันมาก่อน การจัดฟันใสแบบ Invisalign Full ต้องใช้เครื่องมือจัดฟันใสตั้งแต่ 15 คู่ ขึ้นไป ใช้เวลาในการจัดฟันประมาณ 1-2 ปี
2.2 จัดฟันใส Clear Correct ประเภทของการจัดฟันแบบใสที่ได้รับความนิยมคือ การจัดฟันแบบใส CLEARCORRECT ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการการคิดค้นและออกแบบโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงความสบายของผู้ใส่ สวมใส่ได้อย่างเรียบเนียน เพื่อช่วยลดการระคายเคือง เป็นการจัดฟันด้วยตัววัสดุ Clear quartz เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ CLEARCORRECT มีความใส ใส่สบาย
2.3 จัดฟันใส Spark เป็นระบบจัดฟันแบบใสรุ่นใหม่ล่าสุดที่พัฒนาโดย Ormco,Inc.,USA ผู้คิดค้นระบบเหล็กจัดฟัน Damon System อันโด่งดัง ออกแบบมาเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของเครื่องมือจัดฟันแบบใสรุ่นก่อน ๆ ให้มีประสิทธิภาพและสบายกว่า
2.4 Smartee เป็นระบบจัดฟันแบบใสรุ่นใหม่ล่าสุดที่พัฒนาโดยบริษัท Smartee ประเทศไทย ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดฟันแบบใสรุ่นก่อน ๆ ให้มีประสิทธิภาพและสบายกว่า
Smartee เป็นเครื่องมือจัดฟันที่สามารถถอดใส่ได้ มีหลากหลายราคาและจำนวนชิ้น ดังนี้
- จัดฟันใส smartee ไม่เกิน 10 คู่ สำหรับเคสที่ ฟันห่าง ฟันซ้อนเกเล็กน้อย ใช้เวลาในการจัดฟันประมาณ 1 ปี
- จัดฟันใส smartee ไม่เกิน 20 คู่ สำหรับเคสที่ ฟันห่าง ฟันซ้อนเกเล็กน้อย - ปานกลาง ใช้เวลาในการจัดฟันประมาณ 2 ปี
- จัดฟันใส smartee ไม่เกิน 35 คู่ สำหรับเคสที่ ฟันห่าง ฟันยื่น ฟันซ้อนเกปานกลาง ใช้เวลาในการจัดฟันประมาณ 3 ปี
- จัดฟันใส smartee (ไม่จำกัดจำนวนชิ้น) สำหรับเคสที่ถอนฟัน , ผ่าตัดขากรรไกร ฟันห่าง ฟันยื่น ฟันซ้อนเกที่มีความซับซ้อนมาก ใช้เวลาในการจัดฟันประมาณ 5 ปี
ข้อดีของจัดฟันใส
• ความสวยงาม : เครื่องมือจัดฟันใสทำจากพลาสติกใส จึงมองไม่เห็นเมื่อสวมใส่ เหมาะกับผู้ที่ต้องการจัดฟันแบบไม่สังเกตเห็น ช่วยเพิ่มความมั่นใจในรอยยิ้ม
• ความสะดวกสบาย : ขอบเครื่องมือเรียบเนียน ไม่ระคายเคืองช่องปาก
• สบาย : ขอบเครื่องมือเรียบเนียน ไม่ระคายเคืองช่องปาก
• ทนทาน : ทนต่อการติดสีจากอาหาร ไม่เหลืองง่าย
• กระชับ : แนบสนิทกับตัวฟัน เคลื่อนฟันได้รวดเร็ว
• แม่นยำ : ควบคุมการเคลื่อนฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• รวดเร็ว : เห็นผลลัพธ์ชัดเจนภายในระยะเวลาสั้น
• ถอดใส่ได้ : สะดวกต่อการรักษาความสะอาด
• ดูแลรักษาง่าย : ไม่ต้องใช้ยางรัดฟัน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในช่องปาก
• เหมาะกับใคร : ผู้ที่มีปัญหาฟันหลากหลายประเภท เช่น ฟันล้ม ฟันยื่น ฟันซ้อน ฟันห่าง ฟันสบเปิดฟันซ้อนเก ฯลฯ
ข้อเสียของจัดฟันแบบใส
• ราคา : จะมีราคาแพงกว่าการจัดฟันแบบอื่นๆ
• วินัย : การจัดฟันแบบใสต้องใช้ความใส่ใจและวินัยสูง ผู้ป่วยจะต้องใส่เครื่องมือจัดฟันใสตลอดเวลา (ประมาณ 22 ชั่วโมงต่อวัน) ถอดเฉพาะตอนทานอาหาร แปรงฟัน และทำความสะอาดเครื่องมือ
• การสูญหายหรือเสียหาย : เครื่องมือจัดฟันแบบใสอาจสูญหายหรือเสียหายได้ ผู้ป่วยจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำเครื่องมือใหม่
ขั้นตอนการจัดฟันโดยทั่วไปมีดังนี้
1. ปรึกษาหมอฟันเพื่อประเมินความเหมาะสม
• แจ้งปัญหาหรือความต้องการจัดฟัน
• ทันตแพทย์จะตรวจสุขภาพช่องปาก ฟัน เหงือก และขากรรไกร
• พิมพ์ปาก เอกซเรย์ฟัน และถ่ายรูปใบหน้า
• ทันตแพทย์จะวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการรักษา
• อธิบายวิธีการจัดฟันที่เหมาะสม ข้อดี ข้อเสีย ระยะเวลา และค่าใช้จ่าย
2. เตรียมความพร้อมก่อนติดเครื่องมือ
• ทันตแพทย์จะทำความสะอาดช่องปาก ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน หรือรักษารากฟัน
• เตรียมอุปกรณ์ดูแลช่องปาก เช่น แปรงสีฟัน ขนไหมฟัน ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก
• เตรียมอาหารที่ทานง่าย หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง เหนียว
3. ติดเครื่องมือจัดฟัน
• ทันตแพทย์จะติดเครื่องมือจัดฟัน เช่น เหล็กดัดฟัน เซรามิก หรือแบบใส
• อธิบายวิธีการดูแลรักษาเครื่องมือ การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน
• นัดหมายติดตามผลและปรับเครื่องมือเป็นระยะ
4. ปรับเครื่องมือตามแผนการรักษา
• พบหมอฟันทุกๆ 1-2 เดือน เพื่อปรับเครื่องมือให้ฟันเคลื่อนที่ตามแผน
• ทันตแพทย์จะตรวจสุขภาพช่องปากและเครื่องมือจัดฟัน
• อาจรู้สึกตึงหรือปวดเล็กน้อยหลังปรับเครื่องมือ
5. ถอดเครื่องมือจัดฟัน
• เมื่อฟันเรียงตัวตามต้องการ ทันตแพทย์จะถอดเครื่องมือจัดฟัน
• ใส่รีเทนเนอร์เพื่อคงสภาพฟัน
6. ดูแลรักษาฟันหลังถอดเครื่องมือ
• แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
• พบหมอฟันเพื่อตรวจติดตามผล

ขั้นตอนการดูแลรักษาหลังจัดฟัน
1. ใส่รีเทนเนอร์ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ : ควรใส่รีเทนเนอร์ทุกวัน ตามระยะเวลาที่ทันตแพทย์กำหนด รีเทนเนอร์มีหน้าที่ช่วยคงสภาพฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่จัดไว้ ถอดรีเทนเนอร์เฉพาะตอนทานอาหาร แปรงฟัน และทำความสะอาดรีเทนเนอร์
2. แปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ : ใช้แปรงสีฟันขนนุ่ม หัวแปรงเล็ก เหมาะกับการแปรงฟันจัดฟัน แปรงบริเวณตัวฟัน เครื่องมือจัดฟัน และเหงือกอย่างทั่วถึง แปรงฟันหลังทานอาหารทุกมื้อ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันเพื่อทำความสะอาดซอกฟัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
3. ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ : ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ช่วยป้องกันฟันผุ และบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ วันละ 1-2 ครั้ง
4. พบหมอฟันตามนัดหมาย : พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก และตรวจสภาพรีเทนเนอร์ อาจแนะนำให้ขูดหินปูน หรือทำความสะอาดฟันเพิ่มเติม
5. หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง เหนียว : อาหารแข็ง เหนียว อาจทำให้เครื่องมือจัดฟันหลุด หรือแตกหัก ควรทานอาหารที่นิ่ม หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยวช้าๆ
6. ดูแลสุขภาพช่องปาก : หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะทำให้เกิดคราบพลัก ฟันเหลือง และปัญหาสุขภาพช่องปาก ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
3.การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร (Orthognathic Surgery)
การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะกับผู้ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกขากรรไกรและฟัน ซึ่งไม่สามารถแก้ไขด้วยการจัดฟันเพียงอย่างเดียวโดยการผ่าตัดจะปรับตำแหน่งของกระดูกขากรรไกรให้เหมาะสม ช่วยให้ใบหน้าสมมาตร การสบฟันดีขึ้น เคี้ยวอาหารได้สะดวก และเพิ่มความมั่นใจ

การผ่าตัดขากรรไกรสามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น:
• การสบฟันผิดปกติ : ขากรรไกรที่ยื่นออกมา คางยื่น ฟันไม่สบกัน
• ความผิดปกติของรูปหน้า : ใบหน้าเบี้ยว ใบหน้าไม่สมมาตร
• ปัญหาการหายใจ : หายใจลำบากขณะนอนหลับ
• ปัญหาการเคี้ยว : เคี้ยวอาหารลำบาก
ข้อดีของการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
• การสบฟันที่ถูกต้อง : ช่วยให้เคี้ยวอาหาร กลืนอาหาร พูด และหายใจได้อย่างถูกต้อง
• รูปหน้าที่สมมาตร : ใบหน้าดูสมดุลและสวยงามขึ้น
• การนอนหลับที่ดีขึ้น : ลดปัญหาการหายใจขณะนอนหลับ
• ความมั่นใจที่เพิ่มขึ้น : ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิต
• ฟังก์ชันการทำงานของข้อต่อขากรรไกรที่ดีขึ้น : ลดอาการปวดขากรรไกรร
ข้อดีของการจัดฟัน
• ฟันเรียงตัวสวยงาม : เพิ่มความมั่นใจในการยิ้มและพูดคุย
• สุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น : ทำความสะอาดฟันง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงต่อฟันผุและโรคเหงือก
• การกัดและเคี้ยวที่ดีขึ้น : เคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• การพูดที่ชัดเจน : ลดปัญหาการออกเสียง
• สุขภาพจิตที่ดีขึ้น : เพิ่มความมั่นใจในตนเอง
การผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน (Surgery First) เป็นวิธีการรักษาที่รวมเอาการผ่าตัดขากรรไกรเข้ากับการจัดฟันเพื่อแก้ไขความผิดปกติของโครงสร้างขากรรไกรและจัดเรียงฟันให้ถูกต้อง วิธีนี้แตกต่างจากวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมที่จัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร
ข้อดีของการผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน
• ระยะเวลาการรักษาสั้นลง : โดยรวมแล้ว การรักษาด้วยวิธี Surgery First มักใช้เวลาน้อยกว่าวิธีการรักษาแบบดั้งเดิม เนื่องจากไม่จำเป็นต้องจัดฟันก่อนผ่าตัด
• ผลลัพธ์ที่คาดเดาได้แม่นยำยิ่งขึ้น : ทันตแพทย์สามารถควบคุมตำแหน่งสุดท้ายของฟันได้ดีขึ้น เนื่องจากพวกเขาสามารถวางแผนการผ่าตัดได้ตามตำแหน่งฟันที่ต้องการ
• การฟื้นฟูที่เร็วขึ้น : ผู้ป่วยมักฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็วขึ้น เนื่องจากไม่จำเป็นต้องผ่าตัดสองครั้ง
• ความเจ็บปวดน้อยลง : ผู้ป่วยมักรู้สึกเจ็บปวดน้อยลงหลังการผ่าตัด เนื่องจากมีการผ่าตัดเพียงครั้งเดียว
• การลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน : การผ่าตัดเพียงครั้งเดียวช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดสองครั้ง
ขั้นตอนของการผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน
1. การปรึกษา : ผู้ป่วยจะปรึกษากับทันตแพทย์จัดฟันและศัลยแพทย์ขากรรไกรเพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการรักษา
2. การวางแผนการรักษา : ทันตแพทย์จัดฟันจะสร้างแบบจำลอง 3 มิติของขากรรไกรของผู้ป่วย ศัลยแพทย์ขากรรไกรจะใช้แบบจำลองนี้เพื่อวางแผนการผ่าตัด
3. การผ่าตัด : ศัลยแพทย์ขากรรไกรจะผ่าตัดเพื่อปรับโครงสร้างกระดูกขากรรไกรของผู้ป่วย
4. การพักฟื้น : ผู้ป่วยจะต้องพักฟื้นจากการผ่าตัดเป็นเวลาหลายสัปดาห์
5. การจัดฟัน : เมื่อผู้ป่วยหายดีแล้ว ทันตแพทย์จัดฟันจะใส่เครื่องมือจัดฟันเพื่อจัดเรียงฟันให้ถูกต้อง
ความเสี่ยงของการผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน
• การติดเชื้อ : การติดเชื้อเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยของการผ่าตัดใดๆ
• การบาดเจ็บของเส้นประสาท : การผ่าตัดอาจทำให้เส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียงกับขากรรไกรได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการชาหรือความรู้สึกเสียวซ่า
• ปัญหาการกัด : ผู้ป่วยอาจประสบปัญหาการกัดหลังการผ่าตัด
• ความไม่สมดุลของใบหน้า : ใบหน้าของผู้ป่วยอาจไม่สมดุลหลังการผ่าตัด
• อาการชา : ผู้ป่วยอาจรู้สึกชาบริเวณริมฝีปากและคางหลังการผ่าตัด
การผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟันเหมาะสำหรับใคร : การผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟันเหมาะสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างขากรรไกรที่รุนแรง กรณีเหล่านี้มักรวมถึง:
• การสบฟันผิดปกติ : ขากรรไกรที่ยื่นออกมา คางยื่น ฟันไม่สบกัน
• ความผิดปกติของรูปหน้า : ใบหน้าเบี้ยว ใบหน้าไม่สมมาตร
• ปัญหาการหายใจ : หายใจลำบากขณะนอนหลับ
• ปัญหาการเคี้ยว : เคี้ยวอาหารลำบาก
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
1. ใช้เวลารักษานานแค่ไหน?
ระยะเวลาการรักษาโดยรวมจะขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของปัญหา โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี
2. เจ็บไหม?
ผู้ป่วยจะได้รับยาสลบระหว่างการผ่าตัด หลังผ่าตัดอาจรู้สึกเจ็บปวดเล็กน้อย แพทย์จะสั่งยาแก้ปวดให้
3. ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง?
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
• อาการบวม
• อาการช้ำ
• การติดเชื้อ
• อาการชาบริเวณริมฝีปากและคาง
• ปัญหาการสบฟัน
• ความไม่สมดุลของใบหน้า
4. ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่?
ค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สถานที่รักษา ความซับซ้อนของปัญหา ประเภทของวัสดุที่ใช้ โดยทั่วไปมีค่าใช้จ่ายสูง
5. ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนการผ่าตัด?
• แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาหรืออาหารเสริมที่ทานเป็นประจำ
• งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
• เตรียมอาหารเหลวสำหรับทานหลังผ่าตัด
• หาคนมาดูแลหลังผ่าตัด
6. หลังผ่าตัดต้องดูแลตัวเองอย่างไร?
• ทานอาหารเหลวในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก
• ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม
• รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
• แปรงฟันและบ้วนปากด้วยน้ำเกลือหลังทานอาหารทุกมื้อ
• พักผ่อนให้เพียงพอ
• หลีกเลี่ยงกิจกรรมหนัก
7. ผลลัพธ์จะคงอยู่ถาวรหรือไม่?
ผลลัพธ์จะคงอยู่ถาวร ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาหลังผ่าตัด
