02-8941919
@rdc.dental .
RDC ศูนย์ทันตกรรมพระราม 2

ทันตกรรมประดิษฐ์ ( ฟันปลอม )

หมวดหมู่: งานทันตกรรม

ทันตกรรมประดิษฐ์  ( Prosthodontics )

 

 

         ทันตกรรมประดิษฐ์  ( Prosthodontics )  เป็นสาขาย่อยของทันตแพทยศาสตร์ที่มุ่งเน้นไปที่การบูรณะฟันที่สูญเสียไปหรือฟันธรรมชาติที่ได้รับความเสียหาย โดยใช้วัสดุเทียมทดแทนฟัน เพื่อฟื้นฟูการบดเคี้ยว การพูด และความสวยงามของรอยยิ้ม

การรักษาด้วยทันตกรรมประดิษฐ์มีหลากหลายประเภท ขึ้นอยู่กับปัญหาและความต้องการของผู้ป่วย เช่น: 

 

 
  • รากฟันเทียม : เป็นวิธีการทางทันตกรรมที่ทำการทดแทนรากฟันที่สูญเสียไปด้วยการฝังวัสดุไททาเนียมขนาดเล็กลงบนกระดูกรองรับฟันแล้วจึงทำการติดยึดครอบฟันบนรากฟันเทียมนั้น เพื่อทดแทนฟันที่สูญเสีย ทดแทนรากฟันธรรมชาติ ช่วยให้สามารถใส่ครอบฟัน สะพานฟัน หรือฟันปลอมแบบถอดได้ แข็งแรง ทนทาน และใช้งานได้ยาวนาน มีค่าใช้จ่ายสูง

 

 

 

 

 

   

 
 
  • ครอบฟัน : วัสดุที่ทำขึ้นมาเพื่อครอบฟันแท้ที่มีความเสียหาย ช่วยปกป้องฟันและปรับปรุงรูปลักษณ์ ครอบฟันมีลักษณะเหมือนฟันตามธรรมชาติ ใช้ครอบบนฟันจริง เพื่อช่วยเพิ่มความแข็งแรง ปรับปรุงรูปร่างและสีให้มีความสวยงาม ใช้เป็นตัวยึดสะพายฟัน และใช้เพื่อครอบบนรากฟันเทียม มีหลายประเภทให้เลือก เช่น ครอบฟันโลหะ ครอบฟันเซรามิก ครอบฟันพอร์ซเลน เหมาะสำหรับฟันที่แตกหัก สึกหรอ หรือมีรากฟันอ่อนแอ มีค่าใช้จ่ายปานกลาง

 

 

  

 
 
  • สะพานฟัน : วัสดุเทียมที่ใช้แทนฟันที่สูญเสียไป 1 ซี่หรือหลายซี่ โดยยึดติดกับฟันธรรมชาติข้างเคียง การทำสะพานฟัน เป็นอีกวิธีการหนึ่งทางทันตกรรมที่ช่วยทดแทนฟันที่สูญเสียไปแบบติดแน่นถาวร ด้วยการติดยึดครอบฟันบนฟันซี่ข้างเคียงและเชื่อมต่อด้วยฟันปลอมระหว่างครอบฟันที่ใช้ทดแทนฟันที่สูญเสียไปช่วยให้สามารถเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีหลายประเภทให้เลือก เช่น สะพานฟันแบบติดแน่น สะพานฟันแบบถอดได้มีค่าใช้จ่ายปานกลาง

 

 

 

 
 
  • ฟันปลอม : ฟันเทียมที่ใช้แทนฟันที่สูญเสียไป สามารถถอดได้หรือติดแน่นกับเหงือก แผงฟันปลอม โดยทั่วไปฐานฟันปลอมสามารถทำได้ด้วยพลาสติก และโลหะ ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้เข้ารับบริการ มีหลายประเภทให้เลือก เช่น ฟันปลอมแบบเต็มปาก ฟันปลอมบางส่วน เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียฟันไปหลายซี่หรือทั้งปาก มีค่าใช้จ่ายแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทและวัสดุที่ใช้

 

 

  

 

ประโยชน์ของทันตกรรมประดิษฐ์

  • ช่วยให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ

  • ช่วยให้เคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

  • ช่วยให้พูดได้ชัดเจน

  • ช่วยเพิ่มความมั่นใจ

  • ปรับปรุงรูปลักษณ์ของรอยยิ้ม

 

ดูราคา < ทันตกรรมประดิษฐ์ (ฟันปลอม) >ได้ ...ที่นี่

ราคาทันตกรรมประดิษฐ์

 

 

 

 

   

 สามารถแบ่งย่อยได้อีก 4 ประเภท ตามวัสดุที่ใช้ทำฐานของฟันปลอม 

 1.ฟันปลอมฐานพลาสติก   มีลักษณะเป็นฟันปลอมพลาสติกเป็นซี่ๆ ยึดอยู่กับฐานฟันปลอมที่ทำจากอะคริลิกสีชมพู ตกแต่งให้ดูคล้ายคลึงกับเหงือกธรรมชาติ มีได้ตั้งแต่ 1 ซี่ ไปจนถึงหลายซี่ โดยในกรณีที่เป็นฟันปลอมหลายๆซี่ อาจพบมีตะขอที่ทำจากโลหะ ช่วยยึดเกี่ยวกับตัวฟันธรรมชาติที่เหลืออยู่ในช่องปาก เพื่อให้ฟันปลอมยึดเกาะได้แน่นขึ้น

 

ข้อดีของฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติก
1. ทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากขั้นตอนในการทำไม่ซับซ้อน
2. สามารถถอดออกมาทำความสะอาดได้ง่าย
3. ราคาไม่แพง สามารถเบิกประกันสังคมได้

 

     ข้อเสียของฟันปลอมถอดได้ฐานพลาสติก

    1. อาจทำให้ผู้ใส่เกิดความรำคาญ เนื่องจากฐานของฟันปลอมที่มีขนาดใหญ่ และหนา
    2. การยึดเกาะจะไม่ค่อยแน่น อาจหลุดเวลาเคี้ยว หรือเวลาพูดได้ ถ้าฟันปลอมหลวมมากๆ
    3. มีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอาหารต่ำกว่าฟันปลอมประเภทอื่น
    4. อาจมีเศษอาหารเข้าไปติดใต้ฐานฟันปลอม โดยเฉพาะถ้าเป็นอาหารเศษเล็กๆ เช่น เม็ดน้ำตาล หรือเม็ดพริก จะกดเหงือกและทำให้รู้สึกเจ็บมาก
    5. ฐานของฟันปลอมที่เป็นอะคริลิก จะดูดสี และกลิ่น จากอาหารที่รับประทานเข้าไป เกิดการเปลี่ยนสีได้
    6. มีอายุการใช้งานสั้นกว่าฟันปลอมชนิดอื่น ใช้งานไปซักพัก จะหลวมมากขึ้นเรื่อยๆ
    7. สันเหงือกอาจเกิดการยุบตัวได้
    8. มีโอกาสแตกหักได้ง่าย ถ้าทำหล่น

    2. ฟันปลอมฐานโลหะ เป็นฟันปลอมที่มีลักษณะคล้ายกับฟันปลอมฐานพลาสติก แต่จะเปลี่ยนในส่วนบริเวณฐาน เป็นโครงโลหะแทน และจะมีอะคริลิกสีชมพูแปะอยู่บางส่วน โดยซี่ของฟันปลอม จะเป็นพลาสติกเช่นเดียวกันกับฟันปลอมฐานพลาสติก

 

 

ข้อดีของฟันปลอมถอดได้โครงโลหะ

1. ฐานโลหะจะมีความเล็ก บางมากกว่าฐานพลาสติก ทำให้เวลาใส่จะรำคาญน้อยกว่า
2. อายุการใช้งานนานกว่า อาจมีอายุการใช้งานมากกว่า 10 ปี
3. การปรับตัวในการใส่ฟันปลอม การบดเคี้ยวและการออกเสียง จะทำได้ง่ายกว่าฟันปลอมฐานพลาสติก

 

ข้อเสียของฟันปลอมถอดได้โครงโลหะ
1. อาจมองเห็นตะขอสีเงินได้ในบางบริเวณ ซึ่งอาจมีผลต่อความสวยงาม
2. มีราคาสูงกว่าฟันปลอมฐานพลาสติก
3. เพิ่มขั้นตอนในการทำมากกว่าฟันปลอมฐานพลาสติก

 

 

    3. ฟันปลอมชนิดฐานนิ่ม มีลักษณะคล้ายกับฟันปลอมฐานพลาสติก แต่ในส่วนบริเวณฐานฟันปลอมจะทำด้วยวัสดุพลาสติกที่มีความยืดหยุ่นแทน มักจะใช้ในกรณีที่ฟันหายไปจำนวนน้อยๆเช่น 1 หรือ 2 ซี่

  ข้อดีของฟันปลอมชนิดฐานนิ่ม

 1.มีความยืดหยุ่นสูง ทำง่าย ใส่พอดีได้ง่าย
 2. สามารถปรับด้วยตัวเองได้ ให้นำมาแช่น้ำอุ่น จากนั้นให้นำเข้าไปใส่ในปาก
 3. จะสามารถปรับให้พอดีได้เอง
 4. สวยงาม
 5. ไม่แตก และไม่ค่อยหักง่าย 

 ข้อเสียของฟันปลอมชนิดฐานนิ่ม

 1.ราคาสูงกว่าฟันปลอมฐานพลาสติกธรรมดา2.

 2.ฐานของฟันปลอมสามารถดูดสีและกลิ่นจากอาหารที่รับประทานได้

 3.เวลาเคี้ยวอาหารอาจรู้สึกว่าฟันปลอมมีการยวบขึ้นลงตามการบดเคี้ยว

 

 

 

 

4. ฟันปลอมทั้งปาก ในกรณีที่มีการสูญเสียฟันไปทั้งหมด การใส่ฟันปลอมทั้งปาก จะสามารถทดแทนฟันธรรมชาติได้ วัสดุที่ใช้ในการทำฟันปลอมทั้งปาก ส่วนใหญ่ฐานทำมาจากอะคริลิกแบบแข็ง สีชมพูเหมือนกับสีของเหงือก แบ่งตามวิธีการทำได้ 3 แบบ คือ

 

 ฟันปลอมทั้งปากแบบดั้งเดิม : ฟันปลอมทั้งปากแบบดั้งเดิม จะทำได้หลังจากที่ถอนฟันทั้งปากออกหมด และรอแผลถอนฟันหาย เหงือกเข้าที่ และเนื้อเยื่อต่างๆหายเป็นปกติ ซึ่งมักจะต้องรอหลังถอนฟันอย่างน้อย ประมาณ 1-2 เดือน ในบางกรณี อาจต้องรอนานถึง 6 เดือน ในกรณีที่มีการตัดแต่งกระดูกร่วมด้วย ในระหว่างที่รอแผลถอนฟันหาย จะไม่มีฟันในช่วงเวลานั้นๆ

 

ฟันปลอมทั้งปากแบบทันที : จะมีการเตรียมทำไว้ก่อนที่จะทำการถอนฟันออก และภายหลังถอนฟันทั้งหมดออกไป ก็สามารถใส่ฟันปลอมทดแทนได้ทันที มีข้อดีคือจะช่วยให้ไม่ต้องขาดฟัน แต่อย่างไรก็ดีฟันปลอมชนิดนี้จะหลวมมากขึ้นเรื่อยๆ ภายหลังจากที่ใส่ไป เนื่องจากกระดูกขากรรไกรและสันเหงือก จะเกิดการยุบตัวลงเรื่อยๆ ดังนั้นภายหลังจากที่สันเหงือกยุบตัวลงจนเข้าที่แล้ว อาจจะต้องทำฟันปลอมชุดใหม่ หรือทำการเสริมฐานฟันปลอมชุดเดิม เพื่อให้แน่นขึ้น

ฟันปลอมทั้งปากแบบวางบนรากเทียม : ฟันปลอมทั้งปากชนิดนี้ จะคล้ายกับฟันปลอม ทั้งปากแบบดั้งเดิม แต่จะมีรากเทียมที่ฝังเตรียมเอาไว้ก่อนแล้ว เป็นตัวช่วยยึดฟันปลอมทำให้ฟันปลอมชนิดนี้แน่นเทียบเท่าฟันธรรมชาติ สามารถบดเคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่หลุดง่ายๆ

 

 

 

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฟันปลอม

1. ฟันปลอมมีกี่แบบ?

       ฟันปลอมมีหลายแบบ ขึ้นอยู่กับจำนวนฟันที่สูญเสียไป สภาพของเหงือก และความต้องการของผู้ป่วย โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ: 

 

 

  • ฟันปลอมแบบถอดได้ :
    • เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียฟันไปหลายซี่หรือทั้งปาก
    • สามารถถอดเข้าออกเพื่อทำความสะอาดได้
    • มีหลายประเภท เช่น ฟันปลอมแบบเต็มปาก ฟันปลอมบางส่วน
  • ฟันปลอมแบบติดแน่น :
    • เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่สูญเสียฟันไป 1 ซี่หรือหลายซี่ติดกัน
    • ยึดติดกับฟันธรรมชาติข้างเคียงหรือรากฟันเทียม
    • ไม่สามารถถอดออกได้ด้วยตัวเอง

 

 

 

 

2.ใส่ฟันปลอมแล้วจะเจ็บไหม?

       ในช่วงแรกหลังจากใส่ฟันปลอมใหม่ๆ ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บหรือระคายเคืองเล็กน้อย เนื่องจากต้องใช้เวลาปรับตัวกับฟันปลอม โดยทั่วไปอาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายไปภายใน 1-2 สัปดาห์

อย่างไรก็ตาม หากรู้สึกเจ็บหรือปวดมาก ควรปรึกษาแพทย์หรือทันตแพทย์ผู้ใส่ฟันปลอมทันที

3.ต้องดูแลฟันปลอมอย่างไร?

     การดูแลฟันปลอมอย่างถูกวิธี จะช่วยให้ฟันปลอมใช้งานได้ยาวนาน และป้องกันปัญหาช่องปาก ดังนี้:

  • แปรงฟันปลอมทุกวัน อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น

  • ใช้แปรงสีฟันขนนุ่มและยาสีฟันสำหรับฟันปลอมโดยเฉพาะ

  • แช่ฟันปลอมในน้ำยาทำความสะอาดฟันปลอมทุกคืน

  • ถอดฟันปลอมออกก่อนนอน

  • ทำความสะอาดช่องปากเสมอ แปรงฟัน ใช้ไหมขัดฟัน และบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปาก

  • พบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คและปรับแต่งฟันปลอมเป็นประจำทุก 6 เดือน 

4.ฟันปลอมมีอายุการใช้งานนานแค่ไหน?         

       ฟันปลอมมีอายุการใช้งานโดยเฉลี่ยประมาณ 5-10 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของฟันปลอม วัสดุที่ใช้ การดูแลรักษา และสุขภาพช่องปากของผู้ป่วย

5.ใส่ฟันปลอมแล้วจะพูดไม่ชัดหรือเปล่า?

       ในช่วงแรก ผู้ป่วยอาจรู้สึกพูดไม่ชัด เนื่องจากต้องปรับตัวกับฟันปลอม แต่โดยทั่วไปแล้ว จะสามารถพูดได้ชัดเจนเหมือนเดิมภายใน 1-2 สัปดาห์

6.ใส่ฟันปลอมแล้วจะกินอาหารลำบากไหม?

       ในช่วงแรก ผู้ป่วยอาจเคี้ยวอาหารลำบาก เนื่องจากต้องปรับตัวกับฟันปลอม แต่โดยทั่วไปแล้ว จะสามารถเคี้ยวอาหารได้เหมือนเดิมภายใน 1-2 สัปดาห์

7.ใส่ฟันปลอมแล้วจะดูแก่มากขึ้นไหม?

       ทันตแพทย์จะออกแบบและเลือกฟันปลอมให้เหมาะกับรูปหน้าและสีฟันของผู้ป่วย ดังนั้น หากใส่ฟันปลอมที่พอดี จะไม่ทำให้ดูแก่มากขึ้น

8.ใส่ฟันปลอมแล้วจะมีกลิ่นปากหรือเปล่า?

       หากไม่ดูแลฟันปลอมอย่างถูกวิธี อาจเกิดกลิ่นปากได้ ดังนั้น จึงควรแปรงฟันปลอม ทำความสะอาดช่องปาก และพบทันตแพทย์เป็นประจำ

9.ไปที่ไหนเพื่อใส่ฟันปลอม?

       ควรไปพบแพทย์หรือทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านทันตกรรมประดิษฐ์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัย

15 พฤศจิกายน 2567

ผู้ชม 235 ครั้ง

Engine by shopup.com