02-8941919
@rdc.dental .
RDC ศูนย์ทันตกรรมพระราม 2

ทันตกรรมจัดฟัน

หมวดหมู่: งานทันตกรรม

จัดฟัน ( Orthodontics )

 

 จัดฟันทั้งที แนะนำจัดฟันกับคุณหมอเฉพาะทางดีกว่า 

                การจัดฟัน (Orthodontics) เป็นทันตกรรมเฉพาะทาง ที่รักษาและแก้ไขการเรียงตัวของฟันที่มีความผิดปกติ และเพื่อความงาม ต้องมีการปรึกษาและวางแผน โดยแพทย์เฉพาะทางจัดฟัน เพื่อรักษาความผิดปกติของการเรียงตัวของฟัน ไม่ว่าจะเป็น ฟันซ้อน ฟันเก การสบฟัน และปัญหาที่เกี่ยวกับขากรรไกรที่ต้องสัมพันธ์กับใบหน้า อาจจะร่วมกับการผ่าตัด ดังนั้นการจัดฟันจึงเป็นการรักษาเพื่อทำให้มีการสบฟันที่ดีขึ้น ฟันเรียงตัวดีขึ้น การบดเคี้ยวมีประสิทธิภาพมากขึ้น การจัดฟันยังทำให้ยิ้มได้อย่างมั่นใจและเสริมบุคลิกภาพให้ดีขึ้น ฉะนั้น อยากจัดฟันทั้งที แนะนำจัดฟันกับคุณหมอเฉพาะทางจัดฟันดีกว่า รวมถึงคลินิกทันตกรรมเฉพาะทางที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ

 

 

ฟันแบบไหนควรจัดฟัน

ฟันซ้อนเก : ฟันเรียงไม่เป็นระเบียบ ทำให้ทำความสะอาดยาก
ฟันกัดคร่อม : ไม่สามารถขบได้พอดีกับฟันล่าง
ฟันสบเปิด : เมื่อขบฟันแล้ว มีช่องว่างระหว่างฟันบนกับฟันล่าง
ฟันกัดเบี้ยว : จุดศูนย์กลางของฟันบนไม่ตรงกับฟันล่าง
ฟันห่าง : มีช่องว่างระหว่างฟันมากเกินไป
ฟันบนยื่น - เหยิ่น : มีลักษณะฟันบนที่ยื่นออกมาข้างหน้ามากเกินไป
ฟันล่างยื่น - เหยิ่น : มีลักษณะฟันล่างที่ยื่นออกมาข้างหน้ามากเกินไป


รูปแบบของการจัดฟัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ

1. การจัดฟันแบบติดเครื่องมือ เป็นการจัดฟันที่นิยมมากที่สุดและ แพร่หลาย
2. การจัดฟันแบบไม่ติดเครื่องมือ เป็นการจัดฟันแบบถอดได้ หรือแบบใส ไม่ต้องติดเครื่องมือจัดฟันบนฟัน 

1.การจัดฟันแบบติดเครื่องมือ




       1.1 จัดฟันโลหะ / จัดฟันเหล็ก (metal) จัดฟันแบบติดเครื่องมือ เป็นการจัดฟันที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คนทั่วไปและวัยรุ่นส่วนใหญ่จะเลือกการจัดฟันเหล็ก โดยปัจจุบันการจัดฟันโลหะนี้ ขนาดของวัสดุที่ใช้มีขนาดเล็กลง คุณภาพสูง และให้ความรู้สึกใส่สบาย และผู้รับบริการสามารถเลือกเปลี่ยนสีของสันยาง (O-ring) ตามที่ชอบ ได้ทุกเดือน

ข้อดี : เป็นที่นิยม ราคาไม่แพง ทำได้ทุกช่วงอายุวัย ควบคุมการเคลื่อนฟันได้ง่าย เลือกเปลี่ยนสียางตามชอบได้

ข้อเสีย : ทำความสะอาดฟันได้ยาก อาจเกิดแผลในช่องปากจากลวด บางครั้งมีเครื่องมือหลุด ต้องพบแพทย์ทุกเดือน เป็นที่นิยม ราคาไม่แพง ค่าใช้จ่ายน้อยกว่าตัวอื่น ระยะเวลาในการจัดฟัน 2 ปีขึ้นไป

เหมาะกับใคร : การจัดฟันแบบโลหะเหมาะกับคนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ที่มีงบจัดฟันจำกัด และผู้ที่มีเวลามาพบทันตแพทย์ได้บ่อย ๆ สม่ำเสมอ

จัดฟันแบบโลหะใช้เวลานานไหม :
ระยะเวลาในการจัดฟัน 2 ปีขึ้นไป แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัญหาการเรียงตัวของฟันและความสม่ำเสมอของผู้เข้ารับบริการแต่ละคนในการมาพบแพทย์



         1.2 จัดฟันเซรามิก (ceramic braces) เป็นเทคนิคการจัดฟัน ที่ใช้เครื่องมือในการจัดฟันที่ทำมาจากวัสดุเซรามิก จึงให้สีเหมือนฟันจริงตามธรรมชาติ โดยจะทำงานร่วมกับลวดจัดฟันและยาง Oring ในการดึงฟัน มีขั้นตอนการรักษาคล้ายคลึงกับการจัดแบบโลหะ

ข้อดี : คือเครื่องมือมีความโปร่งแสง และให้สีใกล้เคียงกับเนื้อฟันมากที่สุด ทำให้ดูเป็นความเป็นธรรมชาติ และไม่ต้องการให้สังเกตเห็นเครื่องมือจัดฟันได้ง่ายป็นที่นิยม ราคาไม่แพง ทำได้ทุกช่วงอายุวัย ควบคุมการเคลื่อนฟันได้ง่าย

ข้อเสีย : ทำความสะอาดฟันได้ยาก อาจเกิดคราบบนวัสดุจัดฟันได้ง่าย ไม่คงทนแข็งแรงเท่าอุปกรณ์จัดฟันแบบโลหะ เป็นเครื่องมือติดแน่น อาจทำให้เกิดความรำคาญ ระคายเคืองจากเครื่องมือ ต่อเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก

เหมาะกับใคร : เหมาะกับคนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา หรือคนที่ต้องการเน้นความสวยงาม ไม่อยากให้เห็นเครื่องมือจัดฟันชัดเจน เน้นความสวยงาม มีความมั่นใจเวลาพูด หรือยิ้ม เป็นทางเลือกสำหรับคนที่ระคายเคือง หรือแพ้โลหะที่ใช้ในการจัดฟัน

จัดฟันแบบเซรามิกใช้เวลานานไหม : การจัดฟันแบบเซรามิกจะใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี ในการจัดตำแหน่งฟันที่มีปัญหาใหม่ แต่ก็ขึ้นอยู่กับปัญหาการเรียงตัวของฟันและความสม่ำเสมอของผู้เข้ารับบริการแต่ละคนในการมาพบแพทย์

        1.3 จัดฟันแบบดามอน (Damon) เป็นการจัดฟันด้วย Bracket แบบใหม่ไม่ต้องใช้ยางรัด แต่ให้ผลลัพธ์การเคลื่อนตัวของฟันที่รวดเร็วกว่า ออกแบบมาให้คนไข้รู้สึกสบายมากขึ้น เจ็บน้อยลง ทั้งยังมีให้เลือก 2 แบบ

         - จัดฟันดามอน คิว (Damon Q) เป็นการใช้เครื่องมือจัดฟัน หรือ แบร็คเก็ต (Brackets) โลหะสีเงิน เมื่อติดเครื่องมือจัดฟันชนิดนี้บนฟัน จะเห็นเครื่องมือจัดฟันชัดเจน



           - จัดฟันดามอน เคลียร์ (Damon Clear) เป็นการใช้เครื่องมือจัดฟัน หรือ แบร็คเก็ต (Brackets) ชนิดสีเหมือนเนื้อฟัน หรือสีใส ทำให้เมื่อติดลงบนฟันจะมองเห็นเครื่องมือไม่ชัดเจน เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบุคลิกภาพที่ดีหรือไม่ต้องการให้เห็นเครื่องมือมากระหว่างการจัดฟัน

ข้อดี : ไม่ต้องใช้ยาง จึงไม่มีปัญหาเรื่องยางขาด หรือยางเสื่อมสภาพ เนื่องจากใช้เทคโนโลยีแบบ self-ligating ซึ่งลักษณะจะเป็นบานพับเปิดปิด ลดแรงเสียดทาน ส่งผลให้ฟันเคลื่อนที่เร็ว ช่วยลดระยะเวลาในการจัดฟันให้น้อยลง รวมถึงปรับเครื่องมือยังเจ็บน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการจัดฟันแบบโลหะ

ข้อเสีย : ทำความสะอาดฟันได้ยาก ราคาค่อนข้างสูง พบแพทย์บ่อย

เหมาะกับใคร : การจัดฟันแบบโลหะเหมาะกับคนทั่วไป นักเรียน นักศึกษา ที่พอมีงบจัดฟันพอสมควร เนื่องจากราคาค่อนข้างสูง มีเวลาพบแพทย์บ่อย

จัดฟันแบบดาม่อนใช้เวลานานไหม : เฉลี่ยแล้วจะอยู่ที่ประมาณ 6 เดือน – 2 ปี ขึ้นอยู่กับสภาพปัญหาของฟัน และโครงสร้างฟันของแต่ละคน หากคนไข้มีฟันซ้อนหรือฟันเกมากก็อาจจะใช้เวลามากขึ้น

 

< จัดฟัน...แบบไหน?...เหมาะสำหรับคุณ     สนใจ คลิก ดูเพิ่มเติม

 

 

 

จัดฟันทั้งที...แนะนำจัดฟันกับคุณหมอเฉพาะทางจัดฟันดีกว่านะคะ

 

2.การจัดฟันแบบไม่ติดเครื่องมือ ( เครื่องมือถอดได้ หรือ จัดฟันใส )

        หรือเรียกว่า จัดฟันแบบใส เป็นนวัตกรรมการจัดฟันแบบใหม่ เน้นความสวยงามเป็นหลัก เพราะใช้เครื่องมือโปร่งใสช่วยปรับการเรียงตัวของฟัน ซึ่งมองไม่เห็นเครื่องมือ สามารถถอดออกได้ง่ายต่อการรับประทานอาหาร การทำความสะอาด และการใช้ชีวิตประจำวัน

 

จัดฟันใสทางศูนย์ฯของเรามีแบรนด์ให้เลือกดังนี้

 

 

ดูราคา < ทันตกรรมจัดฟัน >ได้ ...ที่นี่

ราคาทันตกรรมจัดฟัน

 

 

 

  2.1 จัดฟันใส Invisalign การจัดฟันแบบไม่ติดเครื่องมือ เป็นการดัดฟันโดยใช้ Aligner แบบใส ผลิตโดยภายใต้เทคโนโลยีของบริษัท ที่ชื่อว่า Invisalign (อินวิสไลด์) ซึ่งมองไม่เห็นเครื่องมือ สามารถถอดออกได้ การจัดฟันใสสามารถช่วยแก้ปัญหาการเรียงตัวของฟัน ให้มีความเป็นระเบียบสวยงาม โดยไม่ต้องทำการติดยึดวัสดุใดๆ บนฟัน ง่ายต่อการรับประทานอาหาร การทำความสะอาด และการใช้ชีวิตประจำวัน 

 
     Invisalign เป็นเครื่องมือจัดฟันที่สามารถถอดใส่ได้จาก USA มีหลากหลายราคาและจำนวนชิ้น ดังนี้  
 
  - Invisalign Express (7คู่)   เหมาะกับผู้ที่จัดฟันมาแล้วไม่ใส่รีเทนเนอร์ เป็นการจัดฟันใสสำหรับคนไข้ที่มีฟันซ้อนเกเพียงเล็กน้อย หรือเคยจัดฟันมาแล้วแต่ฟันกลับมาซ้อนเก ซึ่งจะใช้เครื่องมือจัดฟันไม่เกิน 7 คู่ ใช้เวลาในการจัดฟันประมาณ 6 เดือน
  - Invisalign Lite (14คู่)   เหมาะกับผู้ที่มีฟันหน้าซ้อนเก เคสซับซ้อนปานกลาง เน้นจัดเรียงแต่ฟันหน้า เป็นการจัดฟันใสสำหรับคนไข้ที่มีฟันซ้อนเกไม่มากนัก และใช้เครื่องมือจัดฟันใสตั้งแต่ 8-14 คู่ ใช้เวลาในการจัดฟันประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี
  - Invisalign Go (20คู่)   เหมาะกับผู้ที่มีฟันซ้อนเกปานกลาง แก้ฟันหน้า ช่วยแก้ไขปัญหาฟันห่าง ฟันซ้อนเก ปัญหาเล็กน้อย (สำหรับผู้ที่ไม่มีปัญหาด้านการบดเคี้ยวหรือการสบฟันในฟันหลังหรือฟันกราม)
  - Invisalign Full (ไม่จำกัดจำนวนชิ้น)   เหมาะกับผู้ที่มีฟันซ้อนเกมาก และเคสที่ต้องถอนฟันร่วมด้วย เป็นการจัดฟันใสสำหรับคนไข้ที่มีฟันซ้อนเกค่อนข้างมาก และยังไม่เคยจัดฟันมาก่อน การจัดฟันใสแบบ Invisalign Full ต้องใช้เครื่องมือจัดฟันใสตั้งแต่ 15 คู่ ขึ้นไป ใช้เวลาในการจัดฟันประมาณ 1-2 ปี
 
2.2 จัดฟันใส Clear Correct ประเภทของการจัดฟันแบบใสที่ได้รับความนิยมคือ การจัดฟันแบบใส CLEARCORRECT ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการการคิดค้นและออกแบบโดยทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสามารถเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ คำนึงถึงความสบายของผู้ใส่ สวมใส่ได้อย่างเรียบเนียน เพื่อช่วยลดการระคายเคือง เป็นการจัดฟันด้วยตัววัสดุ Clear quartz เป็นลิขสิทธิ์เฉพาะของ CLEARCORRECT มีความใส ใส่สบาย
 
 2.3 จัดฟันใส Spark เป็นระบบจัดฟันแบบใสรุ่นใหม่ล่าสุดที่พัฒนาโดย Ormco,Inc.,USA ผู้คิดค้นระบบเหล็กจัดฟัน Damon System อันโด่งดัง ออกแบบมาเพื่อแก้ไขจุดบกพร่องของเครื่องมือจัดฟันแบบใสรุ่นก่อน ๆ ให้มีประสิทธิภาพและสบายกว่า

 2.4 Smartee เป็นระบบจัดฟันแบบใสรุ่นใหม่ล่าสุดที่พัฒนาโดยบริษัท Smartee ประเทศไทย ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาการจัดฟันแบบใสรุ่นก่อน ๆ ให้มีประสิทธิภาพและสบายกว่า



Smartee เป็นเครื่องมือจัดฟันที่สามารถถอดใส่ได้ มีหลากหลายราคาและจำนวนชิ้น ดังนี้

- จัดฟันใส smartee ไม่เกิน 10 คู่ สำหรับเคสที่ ฟันห่าง ฟันซ้อนเกเล็กน้อย ใช้เวลาในการจัดฟันประมาณ 1 ปี
- จัดฟันใส smartee ไม่เกิน 20 คู่ สำหรับเคสที่ ฟันห่าง ฟันซ้อนเกเล็กน้อย - ปานกลาง ใช้เวลาในการจัดฟันประมาณ 2 ปี
- จัดฟันใส smartee ไม่เกิน 35 คู่ สำหรับเคสที่ ฟันห่าง ฟันยื่น ฟันซ้อนเกปานกลาง ใช้เวลาในการจัดฟันประมาณ 3 ปี
- จัดฟันใส smartee (ไม่จำกัดจำนวนชิ้น) สำหรับเคสที่ถอนฟัน , ผ่าตัดขากรรไกร ฟันห่าง ฟันยื่น ฟันซ้อนเกที่มีความซับซ้อนมาก ใช้เวลาในการจัดฟันประมาณ 5 ปี

ข้อดีของจัดฟันใส
• ความสวยงาม : เครื่องมือจัดฟันใสทำจากพลาสติกใส จึงมองไม่เห็นเมื่อสวมใส่ เหมาะกับผู้ที่ต้องการจัดฟันแบบไม่สังเกตเห็น ช่วยเพิ่มความมั่นใจในรอยยิ้ม
• ความสะดวกสบาย : ขอบเครื่องมือเรียบเนียน ไม่ระคายเคืองช่องปาก
• สบาย : ขอบเครื่องมือเรียบเนียน ไม่ระคายเคืองช่องปาก
• ทนทาน : ทนต่อการติดสีจากอาหาร ไม่เหลืองง่าย
• กระชับ : แนบสนิทกับตัวฟัน เคลื่อนฟันได้รวดเร็ว
• แม่นยำ : ควบคุมการเคลื่อนฟันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• รวดเร็ว : เห็นผลลัพธ์ชัดเจนภายในระยะเวลาสั้น
• ถอดใส่ได้ : สะดวกต่อการรักษาความสะอาด
• ดูแลรักษาง่าย : ไม่ต้องใช้ยางรัดฟัน ลดความเสี่ยงต่อการเกิดแผลในช่องปาก
• เหมาะกับใคร : ผู้ที่มีปัญหาฟันหลากหลายประเภท เช่น ฟันล้ม ฟันยื่น ฟันซ้อน ฟันห่าง ฟันสบเปิดฟันซ้อนเก ฯลฯ
 
ข้อเสียของจัดฟันแบบใส
          • ราคา : จะมีราคาแพงกว่าการจัดฟันแบบอื่นๆ
          • วินัย : การจัดฟันแบบใสต้องใช้ความใส่ใจและวินัยสูง ผู้ป่วยจะต้องใส่เครื่องมือจัดฟันใสตลอดเวลา (ประมาณ 22 ชั่วโมงต่อวัน) ถอดเฉพาะตอนทานอาหาร แปรงฟัน และทำความสะอาดเครื่องมือ
          • การสูญหายหรือเสียหาย : เครื่องมือจัดฟันแบบใสอาจสูญหายหรือเสียหายได้ ผู้ป่วยจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการทำเครื่องมือใหม่
 
 
ขั้นตอนการจัดฟันโดยทั่วไปมีดังนี้
 
1. ปรึกษาหมอฟันเพื่อประเมินความเหมาะสม
     • แจ้งปัญหาหรือความต้องการจัดฟัน
     • ทันตแพทย์จะตรวจสุขภาพช่องปาก ฟัน เหงือก และขากรรไกร
     • พิมพ์ปาก เอกซเรย์ฟัน และถ่ายรูปใบหน้า
     • ทันตแพทย์จะวิเคราะห์ปัญหาและวางแผนการรักษา
     • อธิบายวิธีการจัดฟันที่เหมาะสม ข้อดี ข้อเสีย ระยะเวลา และค่าใช้จ่าย
2. เตรียมความพร้อมก่อนติดเครื่องมือ
     • ทันตแพทย์จะทำความสะอาดช่องปาก ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน หรือรักษารากฟัน
     • เตรียมอุปกรณ์ดูแลช่องปาก เช่น แปรงสีฟัน ขนไหมฟัน ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก
     • เตรียมอาหารที่ทานง่าย หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง เหนียว
3. ติดเครื่องมือจัดฟัน
     • ทันตแพทย์จะติดเครื่องมือจัดฟัน เช่น เหล็กดัดฟัน เซรามิก หรือแบบใส
     • อธิบายวิธีการดูแลรักษาเครื่องมือ การแปรงฟัน การใช้ไหมขัดฟัน
     • นัดหมายติดตามผลและปรับเครื่องมือเป็นระยะ
4. ปรับเครื่องมือตามแผนการรักษา
     • พบหมอฟันทุกๆ 1-2 เดือน เพื่อปรับเครื่องมือให้ฟันเคลื่อนที่ตามแผน
     • ทันตแพทย์จะตรวจสุขภาพช่องปากและเครื่องมือจัดฟัน
     • อาจรู้สึกตึงหรือปวดเล็กน้อยหลังปรับเครื่องมือ
5. ถอดเครื่องมือจัดฟัน
     • เมื่อฟันเรียงตัวตามต้องการ ทันตแพทย์จะถอดเครื่องมือจัดฟัน
     • ใส่รีเทนเนอร์เพื่อคงสภาพฟัน
6. ดูแลรักษาฟันหลังถอดเครื่องมือ
     • แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
     • พบหมอฟันเพื่อตรวจติดตามผล



 

ขั้นตอนการดูแลรักษาหลังจัดฟัน

         1. ใส่รีเทนเนอร์ตามคำแนะนำของทันตแพทย์ : ควรใส่รีเทนเนอร์ทุกวัน ตามระยะเวลาที่ทันตแพทย์กำหนด รีเทนเนอร์มีหน้าที่ช่วยคงสภาพฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่จัดไว้ ถอดรีเทนเนอร์เฉพาะตอนทานอาหาร แปรงฟัน และทำความสะอาดรีเทนเนอร์
         2. แปรงฟันอย่างสม่ำเสมอ : ใช้แปรงสีฟันขนนุ่ม หัวแปรงเล็ก เหมาะกับการแปรงฟันจัดฟัน แปรงบริเวณตัวฟัน เครื่องมือจัดฟัน และเหงือกอย่างทั่วถึง แปรงฟันหลังทานอาหารทุกมื้อ อย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันเพื่อทำความสะอาดซอกฟัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง
         3. ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ : ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ช่วยป้องกันฟันผุ และบ้วนปากด้วยน้ำยาบ้วนปากที่มีฟลูออไรด์ วันละ 1-2 ครั้ง
         4. พบหมอฟันตามนัดหมาย : พบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพช่องปาก และตรวจสภาพรีเทนเนอร์ อาจแนะนำให้ขูดหินปูน หรือทำความสะอาดฟันเพิ่มเติม
         5. หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง เหนียว : อาหารแข็ง เหนียว อาจทำให้เครื่องมือจัดฟันหลุด หรือแตกหัก ควรทานอาหารที่นิ่ม หั่นเป็นชิ้นเล็กๆ เคี้ยวช้าๆ
         6. ดูแลสุขภาพช่องปาก : หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ เพราะทำให้เกิดคราบพลัก ฟันเหลือง และปัญหาสุขภาพช่องปาก ดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอ อย่างน้อยวันละ 8 แก้ว ทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ 5 หมู่ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

 

3.การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร (Orthognathic Surgery)
         การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร เป็นวิธีการรักษาที่เหมาะกับผู้ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างกระดูกขากรรไกรและฟัน ซึ่งไม่สามารถแก้ไขด้วยการจัดฟันเพียงอย่างเดียวโดยการผ่าตัดจะปรับตำแหน่งของกระดูกขากรรไกรให้เหมาะสม ช่วยให้ใบหน้าสมมาตร การสบฟันดีขึ้น เคี้ยวอาหารได้สะดวก และเพิ่มความมั่นใจ

 

 

การผ่าตัดขากรรไกรสามารถช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่น:
     • การสบฟันผิดปกติ : ขากรรไกรที่ยื่นออกมา คางยื่น ฟันไม่สบกัน
     • ความผิดปกติของรูปหน้า : ใบหน้าเบี้ยว ใบหน้าไม่สมมาตร
     • ปัญหาการหายใจ : หายใจลำบากขณะนอนหลับ
     • ปัญหาการเคี้ยว : เคี้ยวอาหารลำบาก
ข้อดีของการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร
     • การสบฟันที่ถูกต้อง : ช่วยให้เคี้ยวอาหาร กลืนอาหาร พูด และหายใจได้อย่างถูกต้อง
     • รูปหน้าที่สมมาตร : ใบหน้าดูสมดุลและสวยงามขึ้น
     • การนอนหลับที่ดีขึ้น : ลดปัญหาการหายใจขณะนอนหลับ
     • ความมั่นใจที่เพิ่มขึ้น : ส่งผลดีต่อสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิต
     • ฟังก์ชันการทำงานของข้อต่อขากรรไกรที่ดีขึ้น : ลดอาการปวดขากรรไกร
ข้อดีของการจัดฟัน
     • ฟันเรียงตัวสวยงาม : เพิ่มความมั่นใจในการยิ้มและพูดคุย
     • สุขภาพช่องปากที่ดีขึ้น : ทำความสะอาดฟันง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงต่อฟันผุและโรคเหงือก
     • การกัดและเคี้ยวที่ดีขึ้น : เคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     • การพูดที่ชัดเจน : ลดปัญหาการออกเสียง
     • สุขภาพจิตที่ดีขึ้น : เพิ่มความมั่นใจในตนเอง



การผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน (Surgery First)   เป็นวิธีการรักษาที่รวมเอาการผ่าตัดขากรรไกรเข้ากับการจัดฟันเพื่อแก้ไขความผิดปกติของโครงสร้างขากรรไกรและจัดเรียงฟันให้ถูกต้อง วิธีนี้แตกต่างจากวิธีการรักษาแบบดั้งเดิมที่จัดฟันก่อนผ่าตัดขากรรไกร

ข้อดีของการผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน

• ระยะเวลาการรักษาสั้นลง : โดยรวมแล้ว การรักษาด้วยวิธี Surgery First มักใช้เวลาน้อยกว่าวิธีการรักษาแบบดั้งเดิม เนื่องจากไม่จำเป็นต้องจัดฟันก่อนผ่าตัด
• ผลลัพธ์ที่คาดเดาได้แม่นยำยิ่งขึ้น : ทันตแพทย์สามารถควบคุมตำแหน่งสุดท้ายของฟันได้ดีขึ้น เนื่องจากพวกเขาสามารถวางแผนการผ่าตัดได้ตามตำแหน่งฟันที่ต้องการ
• การฟื้นฟูที่เร็วขึ้น : ผู้ป่วยมักฟื้นตัวจากการผ่าตัดได้เร็วขึ้น เนื่องจากไม่จำเป็นต้องผ่าตัดสองครั้ง
• ความเจ็บปวดน้อยลง : ผู้ป่วยมักรู้สึกเจ็บปวดน้อยลงหลังการผ่าตัด เนื่องจากมีการผ่าตัดเพียงครั้งเดียว
• การลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน : การผ่าตัดเพียงครั้งเดียวช่วยลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดสองครั้ง

ขั้นตอนของการผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน

         1. การปรึกษา : ผู้ป่วยจะปรึกษากับทันตแพทย์จัดฟันและศัลยแพทย์ขากรรไกรเพื่อหารือเกี่ยวกับแผนการรักษา
         2. การวางแผนการรักษา : ทันตแพทย์จัดฟันจะสร้างแบบจำลอง 3 มิติของขากรรไกรของผู้ป่วย ศัลยแพทย์ขากรรไกรจะใช้แบบจำลองนี้เพื่อวางแผนการผ่าตัด
         3. การผ่าตัด : ศัลยแพทย์ขากรรไกรจะผ่าตัดเพื่อปรับโครงสร้างกระดูกขากรรไกรของผู้ป่วย
         4. การพักฟื้น : ผู้ป่วยจะต้องพักฟื้นจากการผ่าตัดเป็นเวลาหลายสัปดาห์
         5. การจัดฟัน : เมื่อผู้ป่วยหายดีแล้ว ทันตแพทย์จัดฟันจะใส่เครื่องมือจัดฟันเพื่อจัดเรียงฟันให้ถูกต้อง

ความเสี่ยงของการผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟัน

         • การติดเชื้อ : การติดเชื้อเป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยของการผ่าตัดใดๆ
         • การบาดเจ็บของเส้นประสาท : การผ่าตัดอาจทำให้เส้นประสาทที่อยู่ใกล้เคียงกับขากรรไกรได้รับความเสียหาย ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดอาการชาหรือความรู้สึกเสียวซ่า
         • ปัญหาการกัด : ผู้ป่วยอาจประสบปัญหาการกัดหลังการผ่าตัด
         • ความไม่สมดุลของใบหน้า : ใบหน้าของผู้ป่วยอาจไม่สมดุลหลังการผ่าตัด
         • อาการชา : ผู้ป่วยอาจรู้สึกชาบริเวณริมฝีปากและคางหลังการผ่าตัด


การผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟันเหมาะสำหรับใคร : การผ่าตัดขากรรไกรก่อนจัดฟันเหมาะสำหรับผู้ที่มีความผิดปกติของโครงสร้างขากรรไกรที่รุนแรง กรณีเหล่านี้มักรวมถึง:
         • การสบฟันผิดปกติ : ขากรรไกรที่ยื่นออกมา คางยื่น ฟันไม่สบกัน
         • ความผิดปกติของรูปหน้า : ใบหน้าเบี้ยว ใบหน้าไม่สมมาตร
         • ปัญหาการหายใจ : หายใจลำบากขณะนอนหลับ
         • ปัญหาการเคี้ยว : เคี้ยวอาหารลำบาก

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร

1. ใช้เวลารักษานานแค่ไหน?
         ระยะเวลาการรักษาโดยรวมจะขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของปัญหา โดยทั่วไปใช้เวลาประมาณ 1-2 ปี
2. เจ็บไหม?
         ผู้ป่วยจะได้รับยาสลบระหว่างการผ่าตัด หลังผ่าตัดอาจรู้สึกเจ็บปวดเล็กน้อย แพทย์จะสั่งยาแก้ปวดให้
3. ผลข้างเคียงมีอะไรบ้าง?

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่

• อาการบวม
• อาการช้ำ
• การติดเชื้อ
• อาการชาบริเวณริมฝีปากและคาง
• ปัญหาการสบฟัน
• ความไม่สมดุลของใบหน้า


4. ค่าใช้จ่ายประมาณเท่าไหร่?

         ค่าใช้จ่ายจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น สถานที่รักษา ความซับซ้อนของปัญหา ประเภทของวัสดุที่ใช้ โดยทั่วไปมีค่าใช้จ่ายสูง

5. ควรเตรียมตัวอย่างไรก่อนการผ่าตัด?

• แจ้งแพทย์เกี่ยวกับยาหรืออาหารเสริมที่ทานเป็นประจำ
• งดสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์
• เตรียมอาหารเหลวสำหรับทานหลังผ่าตัด
• หาคนมาดูแลหลังผ่าตัด

6. หลังผ่าตัดต้องดูแลตัวเองอย่างไร?

• ทานอาหารเหลวในช่วง 1-2 สัปดาห์แรก
• ประคบเย็นเพื่อลดอาการบวม
• รับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง
• แปรงฟันและบ้วนปากด้วยน้ำเกลือหลังทานอาหารทุกมื้อ
• พักผ่อนให้เพียงพอ
• หลีกเลี่ยงกิจกรรมหนัก

7. ผลลัพธ์จะคงอยู่ถาวรหรือไม่?
         ผลลัพธ์จะคงอยู่ถาวร ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาหลังผ่าตัด

 

 

28 มีนาคม 2568

ผู้ชม 432 ครั้ง

Engine by shopup.com