02-8941919
@rdc.dental .
RDC ศูนย์ทันตกรรมพระราม 2

ทันตกรรมรักษารากฟัน

หมวดหมู่: งานทันตกรรม

รักษารากฟัน ( Endodontics )

 

         การรักษารากฟัน  ( Root Canal Treatment )  คือขบวนการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันและคลองรากฟันที่มีการติดเชื้อ และอักเสบ ร่วมกับการทำความสะอาดในคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อโรค จากนั้นจึงอุดคลองรากฟันและบูรณะตัวฟันเพื่อความแข็งแรงและสวยงามให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ ซึ่งสาเหตุโดยทั่วไปเกิดเนื่องมาจากการติดเชื้อบริเวณปลายรากฟัน หรือเกิดจากการหัก ร้าว หรือผุ ลึกลงไปจนถึงชั้นเนื้อเยื่อภายในโพรงประสาทฟันซึ่งมีเส้นประสาทและเส้นเลือดอยู่ ก่อให้เกิดอาการปวดและบวมที่บริเวณนั้น บางครั้งอาจเกิดความเสียหายต่อกระดูกขากรรไกรหรือกล้ามเนื้อ รวมถึงการติดเชื้อและการอักเสบในโพรงฟัน การรักษารากฟัน อย่างถูกต้องและทันท่วงทีจึงมีความสำคัญและช่วยให้คนไข้ยังคงสามารถเก็บฟันซี่นั้นได้ โดยไม่ต้องถอนทิ้งไปอย่างในอดีต ซึ่งในปัจจุบันเรามีการพัฒนาวิธีการรักษาทางทันตกรรม อุปกรณ์ทางทันตกรรมที่ทันสมัย ที่ช่วยให้สามารถรักษาอาการดังกล่าวได้ ช่วยให้ผู้เข้ารับบริการไม่ต้องสูญเสียฟันซี่นั้นไป

 วัตถุประสงค์ของการรักษารากฟัน

 
 
  • ช่วยให้รักษาฟันธรรมชาติไว้ ไม่ต้องถอนฟัน
  • บรรเทาอาการปวดหรืออักเสบ
  • ฟื้นฟูการทำงานของฟัน
  • ช่วยให้เคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ป้องกันการติดเชื้อลุกลามไปยังฟันซี่ข้างเคียง

 

 

 

 

 

 

ขั้นตอนการรักษารากฟัน

การรักษารากฟันต้องทำ 1 - 4 ครั้ง โดยทั่วไปมีขั้นตอนดังนี้ :

      1.การถ่าย Xray : เพื่อตรวจดูสภาพและรูปร่างของฟัน รวมถึงบริเวณที่มีการติดเชื้ออักเสบ

      2.การวางยาชา : ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเพื่อทำให้บริเวณฟันที่ต้องการรักษาชา

      3.การเจาะโพรงฟัน : ทันตแพทย์จะเจาะรู บนฟันเพื่อเข้าถึงโพรงประสาทฟัน

      4.การเอาเนื้อเยื่อประสาทฟันออก : ทันตแพทย์จะใช้เครื่องมือขนาดเล็กเพื่อเอาเนื้อเยื่อประสาทฟันที่ตายหรือติดเชื้อออก

      5.การทำความสะอาดและฆ่าเชื้อคลองรากฟัน : ทันตแพทย์จะทำความสะอาดและฆ่าเชื้อคลองรากฟัน

      6.การอุดคลองรากฟัน : ทันตแพทย์จะอุดคลองรากฟันด้วยวัสดุพิเศษ

      7.การบูรณะฟัน : ทันตแพทย์จะบูรณะฟันด้วยครอบฟันหรือวัสดุอุดฟัน

กรณีที่ควรพิจารณาการรักษารากฟัน

  • ฟันมีอาการปวดหรือเสียวแปลบ
  • ฟันไวต่อความร้อนหรือความเย็น
  • ฟันมีสีคล้ำ
  • มีอาการบวมหรืออักเสบรอบๆ ฟัน
  • เหงือกมีหนองไหล
 ข้อดีของการรักษารากฟัน
  • ช่วยให้รักษาฟันธรรมชาติไว้ ไม่ต้องถอนฟัน
  • ฟื้นฟูการทำงานของฟัน
  • ช่วยให้เคี้ยวอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ป้องกันการติดเชื้อลุกลามไปยังฟันซี่ข้างเคียง
ข้อเสียของการรักษารากฟัน
  • การรักษารากฟันอาจทำให้รู้สึกไม่สบายระหว่างทำ
  • อาจต้องใช้เวลาและนัดหมายหลายครั้ง
  • มีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อซ้ำ
  • ฟันที่รักษารากแล้วอาจเปราะบางกว่าฟันปกติ
  • มีค่าใช้จ่ายมากกว่าการอุดฟันทั่วไป
 

 

 

 การดูแลรักษาหลังการรักษารากฟัน
  • แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
  • พบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คตามนัด
  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็งๆ
 

 

 

ดูราคา < รักษารากฟัน >ได้ ...ที่นี่

ราคารักษารากฟัน

 

 

 

 

ทำไมหลังจากรักษารากฟันแล้ว ต้องใส่ เดือยฟัน ครอบฟัน

         เมื่อพบว่า ไม่เกิดการอักเสบแล้ว ทันตแพทย์ก็จะอุดปิด การใส่เดือยฟัน ครอบฟัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพเนื้อฟันที่เหลืออยู่ฟันที่ได้รับการรักษารากฟันแล้วนั้นจะมีความแข็งแรงน้อยลง มีความเปราะบางมากขึ้น ดังนั้นการทำ เดือยฟัน และ ครอบฟัน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงและช่วยปกป้องฟันซี่นั้น

 

อาการที่อาจเกิดขึ้นได้หลังการเข้ารับการรักษารากฟัน

         ช่วงระยะเวลา 2-3 วันแรกหลังได้รับการรักษารากฟันแล้วนั้น ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกเสียวฟันอันเกิดเนื่องมาจากเนื้อเยื่อได้เคยเกิดการอักเสบติดเชื้อ โดยเฉพาะในกรณีที่มีอาการปวดมาก่อนเข้ารับการรักษา ซึ่งอาการดังกล่าวสามารถแก้ไขด้วยการรับประทานยาแก้ปวดทั่วไปและอาการดังกล่าวจะหายไปในเวลาไม่นาน

 

วิธีการดูแลเมื่อเข้ารับการรักษารากฟันและเมื่อเสร็จสิ้นการรักษา

         ในช่วงเวลาของการรักษารากฟัน ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงการบดเคี้ยวบริเวณฟันที่ได้รับการรักษา เนื่องจากทันตแพทย์จะทำการอุดปิดโพรงฟันแบบชั่วคราวเท่านั้น ดังนั้นฟันซี่นั้นจึงไม่มีความแข็งแรงมากพอที่จะใช้งานได้ตามปกติ จึงยังไม่ควรใช้ฟันกัดหรือเคี้ยวอาหารแข็งถ้าหากว่ายังไม่ได้บูรณะตัวฟันให้แข็งแรง เพราะอาจทำให้ฟันแตกหรือหักได้

เมื่อการรักษารากฟันเสร็จสิ้นแล้วนั้น ฟันซี่ดังกล่าวก็จะมีความแข็งแรงไม่เท่าดังเดิม ทันตแพทย์จึงแนะนำให้รับการใส่เดือยฟันและครอบฟันเพื่อเพิ่มความมั่นคงแข็งแรงและป้องกันฟันซี่นั้นจากการติดเชื้อและฟันแตกหัก

 

คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการรักษารากฟัน

 

 

1.การรักษารากฟันเจ็บหรือไม่?

         โดยทั่วไป ทันตแพทย์จะฉีดยาชาเพื่อทำให้บริเวณฟันที่ต้องการรักษาชา จึงไม่รู้สึกเจ็บปวดระหว่างทำ แต่หลังการรักษาอาจรู้สึกไม่สบายหรือปวดเล็กน้อย ซึ่งสามารถบรรเทาอาการด้วยยาแก้ปวดที่ทันตแพทย์สั่งให้

2.ใช้เวลาในการรักษารากฟันนานแค่ไหน?

         การรักษารากฟันมักต้องทำ 2-3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30-60 นาที ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของรากฟัน

3.หลังรักษารากฟันแล้วต้องดูแลอย่างไร?

  • แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
  • พบทันตแพทย์เพื่อตรวจเช็คตามนัด
  • หลีกเลี่ยงการเคี้ยวอาหารแข็งๆ
  • ดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ

 

 4.ฟันที่รักษารากฟันแล้วจะอยู่ได้นานแค่ไหน?

          สามารถใช้งานได้นานและมีประสิทธิภาพคล้ายฟันปกติ ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา

5.ทุกคนสามารถรักษารากฟันได้หรือไม่?

         ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถรักษารากฟันได้ ทันตแพทย์จะพิจารณาจากสภาพฟัน สุขภาพช่องปาก และสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย

6.มีทางเลือกอื่นนอกจากการรักษารากฟันหรือไม่?

         หากไม่สามารถรักษารากฟันได้ ทางเลือกอื่นคือการถอนฟัน และใส่ฟันปลอมทดแทน

7.ควรไปพบทันตแพทย์เมื่อไหร่หากคิดว่าต้องรักษารากฟัน?

         ควรไปพบทันตแพทย์ทันทีหากมีอาการดังต่อไปนี้ :

  • ปวดฟัน

  • เสียวฟัน

  • ฟันไวต่อความร้อนหรือความเย็น

  • ฟันมีสีคล้ำ

  • มีอาการบวมหรืออักเสบรอบๆ ฟัน

  • เหงือกมีหนองไหล

13 กุมภาพันธ์ 2568

ผู้ชม 65 ครั้ง

Engine by shopup.com